วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สำรวจความต่างศักย์ไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลาย

"สวัสดีคะทุกคน ^_^ วันนี้เราจะมารีวิวการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลายกัน....อยากรู้กันแล้วใช่ไหมหล่าาาว่ามันมีวิธีการวัดอย่างไร... งั้นเราไปดูกันเล๊ยยย..."


ก่อนอื่นเราต้องเตรียมอุปกรณ์ซึ่งมีดังนี้คะ

1. พาวเวอร์ซัพพลาย
                  

2. มัลติมิเตอร์ (ในที่นี้ขอใช้แบบดิจิตอลมัลติมิเตอร์)



3. ลวดหรือโลหะที่นำไฟฟ้า


..........เมื่อเราเตรียมอุปกรณ์ครบเรียบร้อยแล้วเราก็มาเริ่มกันเลยคะ............

1. นำลวดหรือโลหะที่นำไฟฟ้ามาเสียบเข้าที่ PIN 14 และ 15 ดังรูป


2. ทำการเสียบปลั๊ก--->ให้พาวเวอร์ซัพพลายทำงาน-->จากนั้นเรานำมัลติมิเตอร์มาทำการวัดค่าไฟฟ้าในแต่ละ PIN โดยให้เราปรับค่าสเกลไปที่แรงดัน DC 20V
3. นำสายวัดมิเตอร์สีดำ (ขั่วลบ) ต่อลงกราวด์หรืออาจเสียบลงรูน๊อตที่ยึดตัวเคสพาวเวอร์ซับพลาย
4. นำสายวัดมิเตอร์สีแดง (ขั่วบวก) ไปวัดในแต่ละพิน ซึ่งเราจะวัดพินไหนก่อนก็ได้ แต่ถ้าจะให้ดีเราควรวัดพินที่ 1 ก่อนเพื่อไม่ให้เป็นการสับสน

.........และนี่ก็คือค่าที่เราวัดออกมาได้ ซึ่งมันอาจจะไม่ตรงกับค่ามาตราฐาน............


****หากไม่เข้าใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากวิดีโอด้านล่างนี้เลยคะ*****


       สำหรับการรีวิวครั้งนี้ก็ต้องจบเพียงเท่านี้นะคะ ถูกบ้างผิดบ้างก็ต้องขอ อภัย ด้วยนะค๊าาาาา
หมายเหตุ การกระทำทุกอย่างเราต้องคำนึกถึงความปลอดภัยทุกครั้ง ไม่ควรประหม่านะคะ ด้วยความหวังดีจากผู้เขียนอิอิ ^_^

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ารเปิด/ปิดคอมพิวเตอร์โดยไม่ใช้ปุ่มพาวเวอร์

        วัสดีคะทุกคน ^_^ วันนี้เราจะมารีวิวการเปิด/ปิดคอมพิวเตอร์โดยไม่ใช้ปุ่มพาวเวอร์กันนะคะ?? หรือก็คือการเปิดคอมพิวเตอร์นอกเคส เป็นการต่ออุปกณ์ทุกอย่างภาพนอกเคสว๊าวว  แค่ได้ยินก็สนุกหละ  เริ่มอยากรู้แล้วใช่ไหมหละ งั้นเรามาดูกันเลยว่าจะทำอย่างไร... ไปกันเล๊ยยยย....................


       ก่อนอื่นเราต้องแกะอุปกรณ์ทุกอย่างที่อยู่ภายในเคสออกมาก่อน แล้วศึกษาเกี่ยวกับเมนบอร์ดโดยศึกษาได้จากเอกสารคู่มือการใช้งาน (Data Sheet) สามารถดาวโหลดได้ตามเว็บต่างๆ เมนบอร์ดที่เราจะใช้ในการสาธิตครั้งนี้ก็คือ Acer  รุ่น  L4S5MG/651+  

L4S5MG/651+

1. ให้เราไปดู Front Panel Connector ใน Data Sheet ควรศึกษาให้เข้าใจว่าในการเปิด/ปิดคอมพิวเตอร์ผ่านทางเมนบอร์ดทำได้อย่างไร ซึ่งเมนบอร์ดที่เราจะสาธิตนั้นจะใช้ PIN ที่ 6 กับ 8 ในการเปิด/ปิดเครื่อง
PIN 5 กับ 7 ในรีเซตเครื่อง

                                       

2.  เมื่อศึกษาข้อมูลแล้วให้เราประกอบอุปกรณ์ทุกย่างภายนอกเคส 


3. จากที่เราได้ศึกษาการเปิด/ปิดเครื่องใน Data Sheet แล้วให้เราทดลองเปิดเครื่อง แต่แอ๊ะ!!! มันจะใช้อะไรเปิดในเมื่อมันไม่มีปุ่มพาวเวอร์ สิ่งที่จะใช้ในการเปิด/ปิดเครื่องนั้นก็คือ ไขควงนั้นเอง  หรือหาอะไรก็ได้ที่มีลักษณะปากแบนแต่ต้องมีด้ามจับเป็นพลาสติกนะคะ


4. ให้เรานำไขควงมาสัมผัส PIN ที่ 6 กับ 8 เพื่อเปิด/ปิด แต่ถ้าเราจะปิดเครื่องให้เราใช้ไขควงแตะ PIN 
ที่ 6 กับ 8 โดยแตะแช่ไว้จนกว่าเครื่องจะปิด หรือถ้าเราต้องการจะรีเซตเครื่องให้เรานำไขควงไปแตะที่ PIN ที่ 5 กับ 7 จากนั้นให้เราทดสอบเปิดเลยคะ




ในระหว่างที่เราทดสอบเปิดเครื่องผู้เขียนนี่กลัวมากเลย กลัวว่ามันจะระเบิดตู้มมมม ฮร่าาๆๆคิดไปไกลเลยคะ.... แต่ปรากฏว่าเฮ้ยย!!!! มันเปิดได้จริงๆว๊าวว นี่ก็ถือว่าเป็นความรู้ใหม่จริงๆ

***การกระทำใดๆ ต้องระมัดระวังให้มากเพราะทุกอย่างนั้นมีไฟหล่อเลี้ยง อันตรายเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ^_^

ถ้าบทความนี้ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้นะที่นี้ด้วยนะคะ......

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Review การเปลี่ยนพัดลมพาวเวอร์ซัพพลาย

"สวัสดีคะ วันนี้เราจะมาดูวิธีการเปลี่ยนพัดลมของ PSU ซึ่งนี่ก็เป็นครั้งแรกของผู้เขียนที่จะได้ทำอะไรแบบนี้เป็นอะไรที่ตื่นเต้นมาก...ว้าวววว!!!! เปลี่ยนพัดลมเลย-->นะปกติเคยแต่ซื้อยกชุดไม่เคยเปลี่ยนเอง เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเรามาดูกันเล้ยยยยย"



ก่อนอื่นเราก็ต้องดำเนินการแกะพาว์เวอร์ซัพพลายออกมาก่อนคะ

 

อันนี้แหละคือพาวเวอร์ซัพพลายที่เราจะมาลองเปลี่ยนพัดลมกัน


ก่อนเราจะลงมือปฏิบัติเราก็ต้องดูอาจารย์ทำก่อนเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดดดดด!!! ฮร่าๆๆ


อุปกรณ์ที่ใช้ 1. หัวแร้ง  2. ตะกั่วบัดกรี 3. มีดคมๆ


>>>>>เอาหละหลังที่เราดูอาจารย์สาธิตให้ดูแล้วเราก็จะมาทำบ้างลุยยยย!!!


1. หลังจากที่ราถอดพาวเวอร์ซัพพลายออกมาแล้ว เราต้องถอดพัดลมออกมาด้วย
2. ต่อมาเราต้องบัดกรีเอาตะกั่วออกพัดที่จะเปลี่ยนพัดลมกัน


  

3. จากกนั้นเราก็นำพัดลมที่เราจะนำมาเปลี่ยนนำมาประกอบเข้ากับพาวเวอร์ซัพพลายก่อนแล้วค่อยบัดกรีเพื่อเชื่อสายไฟให้ติดกับแผงวงจร

  

4. เมื่อบัดกรีเสร็จเราก็ลองโยกๆสายไฟดูว่ามันไม่หลุดแล้ว 
5. เมื่อเราทำทุกอย่างเสร็จ เราก็นำพาวเวอร์ซัพพลายไปทดสอบว่าพัดลมที่เราเปลี่ยนนั้นใช้งานได้หรือไม่



ทดสอบการทำงานของพัดลอมฟิ้วววว

และในที่สุด...........................สิ่งที่เราทำมันก็สำเร็จใช้งานได้ตามปกติอิอิ  รู้สึกดีใจมากกกก 
>>>>>>>>>>>ถ้าบทความนี้ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยนะค๊าาา<<<<<<<<<<<<




                หมายเหตุ  พาวเวอร์ซัพพลาย เป็นอุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปณ์ต่างๆทั้งหมดภายในเครื่อง มีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมติดตั้งอยู่ภายในตัวเคส (สามารถถอดเปลี่ยนได้) ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้านจาก 220 โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุดคือ 3.3 และ 5 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับวงจรชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ 12 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงพัดลมระบายอากาศด้วย

                **เวลาบัดกรีเราไม่ควรสูดดมเอาสารตะกั่วเพราะเป็นอันตราย แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็พยายามอย่าสูดดมมากควรหาหน้ากากอนามัยมาใส่