วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

รีวิวการจัดสเปคคอมพิวเตอร์
"สวัสดีคะทุกคน ^_^ มาพบกันอีกแล้วนะคะ วันนี้เราจะมารีวิวการจัดสเปคคอมพิวเตอร์แบบเดสทอป หลายคนอาจคิดว่าจะจัดสเปคไปทำไม ในเมื่อเราสามารถไปซื้อได้เลยมีหลายราคาให้เลือก บอกได้เลยว่าการจัดสเปคคอมพิวเตอร์ด้วยตนเองจะทำให้เราได้คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของเรา ราคาก็จะได้ใกล้เคียงกับที่เราอยากได้ วันนี้เราเลยจะพามาจัดสเปคคอมพิวเตอร์ มาดูกันเล๊ยยค๊าาาา..."

การจัดสเปคคอมพิวเตอร์แบบโฮมออฟฟิตในราคา 17,500 บาท
ก่อนอื่นเราต้องเขาเว็บไซต์ที่เขามีให้คะ ในที่นี้ผู้เขียนขอเลือกเว็บ http://notebookspec.com/PCspec ในการจัดสเปคนะคะ

1. ให้เราคลิกที่ จัดสเปก Auto หรือถ้าใครไม่อยากจัด Auto ก็สามารถเลือกอุปกรณ์ต่างๆด่านล่างได้เลยคะ

2. ให้เราเลือกราคาและสเปคที่เราต้องการ จากนั้นคลิกจัดสเปค

3. นี่คือสเปคที่เขาจัดให้เราอัตโนมัติ ตามราคาที่เราตั้งไว้

4. รายละเอียดสเปคคอมพิวเตอร์ในราคา 17,390 บาท โดยเราสามารถไปเลือกซื้ออุปกรณ์ต่างๆได้ตามรายละเอียดด้านล่างเลยคะ

รายละเอียดต่างๆ
1. CPU
 

2. Mainboard
 
3.RAM
 
4. VGA Card
 
5. Hard disk
 
6. Case
 
7. Power Suppy
 
8. Moniter
 
ต่อมาเราจะมาจัดสเปคในราคา 21,000 บาทนะคะ สำหรับการจัดสเปคเราสามารถเลือกให้ตรงกับความต้องการของเราได้ 


รายละเอียดของสเปคคอมพิวเตอร์ เราสามารถไปเลือกซื้อตามรายละเอียดในตารางได้เลยคะ

หมายเหตุ การเลือกซื้ออุปกรณ์แต่ละรุ่นขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าชอบแบบไหน ดังนั้นควรศึกษารายละเอียดของอุปกรณ์ต่างๆให้ดี เพื่อให้เหมาะกับคอมพิวเตอร์ที่เราจะใช้งาน

เป็นไงกันบ้างคะกับการจัดสเปคคอมพิวเตอร์ นี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ง่ายนิดเดียวเองใช่ไหมคะ ถ้าใครมีความสนใจจะจัดสเปคคอมพิวเตอร์ด้วยตนเองก็ลองเข้าไปทำในลิงค์ด้านบนได้เลยคะ

สำหรับวันนี้ก็ต้องขอจบไว้เพียงแค่นี้ ถ้าผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยคะ บ๊ายบายยย

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

กระบวนการเริ่มต้นของระบบคอมพิวเตอร์

กระบวนการเริ่มต้นของระบบคอมพิวเตอร์
"สวัสดีคะเพื่อนๆ ^_^ วันนี้เราจะมารีวิวกระบวนการเริ่มต้นของระบบคอมพิวเตอร์.... อยากรู็แล้วใช่ไหมหล่าาาว่ามีขั้นตอนอย่างไร งั้นเราไปดูกันเล๊ยย..."




ขั้นตอนการบู๊ตเครื่องในคอมพิวเตอร์

 
กระบวนการบู๊ตเครื่อง

1. พาวเวอร์ซัพพลายส่งสัญญาณไปให้ซีพียูเริ่มทำงาน ซึ่งพาวเวอร์ซัพพลายจะทำหน้าที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าไปให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเริ่มต้นทำงานทันทีเมื่อเรากดปุ่มเปิด (Power ON) และเมื่อเริ่มการทำงานก็จะมีสัญญาณส่งไปบอกซีพียูด้วย

2. ซีพียูจะสั่งให้ไบออสทำงาน ทันทีที่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายมายังคอมพิวเตอร์และมีสัญญาณให้เริ่มทำงาน หน่วยประมวลกลางหรือซีพียูจะพยายามเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในไบออสเพื่อทำงานตามชุดคำสั่งที่เก็บไว้โดยทันที

3. เริ่มทำงานตามกระบวนการที่เรียกว่า POST เพื่อเช็คอุปกรณ์ต่าง ๆกระบวนการ POST (power on self test) ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด , RAM , ซีพียู รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่น คีย์บอร์ดหรือเมาส์

****ซึ่งเราจะสามารถสังเกตผลการตรวจสอบนี้ได้ทั้งจากข้อความที่ปรากฏบนจอภาพในระหว่างบู๊ต และจากเสียงสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ส่งออกมา
****ถ้าการตรวจสอบเรียบร้อยและไม่มีปัญหาใด ๆ ก็จะส่งสัญญาณปี๊บสั้น ๆ 1 ครั้ง แต่หากมีอาการผิดปกติจะส่งสัญญาณที่มีรหัสเสียงสั้นและยาวต่างกันแล้วแต่ข้อผิดพลาด (error) ที่พบ

4. ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่อยู่ในซีมอส ข้อมูลของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งแล้วในเครื่องหรือค่า configuration จะถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำที่เรียกว่า ซีมอส (CMOS – complementary metal oxide semiconductor) ซึ่งจะใช้กระแสไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อยในการหล่อเลี้ยง โดยใช้แบตเตอรี่ตัวเล็ก ๆ บนเมนบอร์ด เพื่อให้เครื่องสามารถจำค่าต่าง ๆ ไว้ได้ ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST นี้ จะถูกนำมาตรวจสอบกับข้อมูลซีมอส ถ้าถูกต้องตรงกันก็ทำงานต่อได้ ไม่เช่นนั้นต้องแจ้งผู้ใช้ให้แก้ไขข้อมูลก่อน

5. ไบออสจะอ่านโปรแกรมสำหรับบู๊ตซีดีหรือฮาร์ดดิสก์ ถ้าบู๊ตลำดับแรกไม่ผ่าน ก็จะไปบู๊ตในลำดับถัดไป

6. เมื่อไบออสรู้จักระบบไฟล์ของไดรว์ที่บู๊ตได้แล้วก็จะไปอ่านโปรแกรมส่วนสำคัญของระบบปฏิบัติการที่เรียกว่าเคอร์เนล (kernel) เข้ามาเก็บในหน่วยความจำหลักหรือ RAM ของคอมพิวเตอร์เสียก่อน

7. ระบบปฏิบัติการในหน่วยความจำเข้าควบคุมเครื่องและแสดงผลลัพธ์ เคอร์เนลที่ถูกถ่ายโอนลงหน่วยความจำนั้นจะเข้าไปควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์โดยรวมและโหลดค่า configuration ต่าง ๆ พร้อมทั้งแสดงผลออกมาที่เดสก์ท็อป

****ประเภทของการบู๊ตเครื่องสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกันคือ
โคลด์บู๊ต (Cold boot) เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง (Power On) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องนี้จะอยู่บนตัวเคสของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิทช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
วอร์มบู๊ต (Warm boot) เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตาร์ทเครื่อง (restart) โดยมากจะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ (เครื่องแฮงค์) ซึ่งจำเป็นต้องมีการบู๊ตเครื่องกันใหม่ สามารถทำได้สามวิธีคือ

- กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง
- กดปุ่ม Ctrl + Alt + Delete จากแป้นพิมพ์ แล้วเลือกคำสั่ง restart จากระบบปฏิบัติการที่ใช้
- สั่งรีสตาร์ทเครื่องจากเมนูบนระบบปฏิบัติการ

.........เป็นยังไงกันบ้างคะ กับขั้นตอนการเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์ ตอนเราเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมามันอาจจะเป็นขั้นตอนง่ายๆ แต่รู้ไหมว่ามันมีกระบวนการที่ซับซ้อน หากอยากเข้าใจก็สามารถศึกษาแล้วทำความเข้าใจเยอะๆนะค๊าาา........

แหล่งอ้างอิง  http://jantip512.blogspot.com/2008/09/blog-post_25.html

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

รีวิวประกอบคอมพิวเตอร์

รีวิวการรื้อ การออนนอกเคส การประกอบคอมพิวเตอร์
สวัสดีคะทุกคน ^_^ วันนี้เราจะมารีวิวการรื้อ การออนนอกเคส และการประกอบคอมพิวเตอร์กันนะคะนอกจากนี้เรายังจะสำรวจอุปกรณ์ต่างๆภายในคอมพิวเตอร์อีกด้วย อยากรู้กันแล้วใช่ไหมหล๊าาาาาา งั้นเราไปดูกันเล๊ยยยย.....

อุปกรณ์ที่ใช้
1. ไขควง (สำคัญ)
2. คอมพิวเตอร์
3. แบบสำรวจอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

เพื่อให้เห็นภาพเรามีวีดีโอตัวอย่างมาให้ดู คลิกดูวีดีโอที่ด้านล่างนี้เลยคะ...^_^


....เป็นยังไงบ้างคะกับการรีวิวการรื้อ การออนนอกเคส และการประกอบคอม อาจจะมีถูกบ้างผิดบ้างก็ต้องขอ อภัยด้วยนะคะ...... ทุกอย่างล้วนเกินขึ้นจากประสบการณ์ตรงถูกบ้างผิดบ้างเป็นธรรมมา ถ้าใครอยากลองรื้อเครื่องดู ก็ลองเลยนะคะ.... เราจะได้รู้ว่าเราก็ทำได้นี่นาาาา.... สำหรับวันนี้สวัสดีคะ